
Tips
CPI คืออะไร?
Consumer Price Index หรือ CPI คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวเลขทางสถิติที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ใช้วัดการเปลี่ยนเเปลงของราคาสินค้าเเละบริการที่ผู้บริโภคจับจ่ายเป็นประจำโดยแบ่งประเภทสินค้าและบริการ ออกเป็น 8 หมวดดังนี้
- หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (Food and Non-alcoholic beverages)
- หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (Apparel)
- หมวดเคหสถาน (Housing)
- หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (Medical and Personal Services)
- หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร (Transportation and Communication)
- หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา (Entertainment and Education)
- หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (Tobacco and Alcoholic beverages)
- หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม (Other expenses non-food and non-beverages)

ประเภทของ CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค
CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก ๆ มี 2 ประเภท ได้แก่- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) คือ ดัชนีราคาที่รวมสินค้าทุกหมวดหมู่ เกี่ยวข้องกับโภคภัณฑ์ บริการ และสินค้าทั้งหมด
- ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ และสินค้าทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ หักสินค้าด้วยราคาเชื้อเพลิงและอาหารที่ผันผวน
วิธีคำนวณหาค่า CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค
- รวบรวมราคาสินค้าเเละบริการในปีก่อนหน้า
- รวบรวมราคาสินค้าเเละบริการในปีปัจจุบัน
- เปรียบเทียบปีปัจจุบันเทียบกับปีก่อนหน้า ด้วยการหารแล้วเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์

ค่า CPI คำนวณจากราคาขายปลีกโดยเฉลี่ย เพื่อซื้อสินค้าและบริการ ณ เวลาที่สนใจ
โดยราคาขายปลีกโดยเฉลี่ย คือ มูลค่าสินค้าเเละบริการที่บริโภคทั้งหมด ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เพื่อเป็นตัวชี้วัดในปีนั้น ๆ
วิธีวิเคราะห์ค่า CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค
- CPI มีค่าบวก หมายถึง สินค้าและบริการมีราคาเพิ่มขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อเพิ่มมาก
- CPI มีค่าติดลบ หมายถึง สินค้าและบริการมีราคาเพิ่มขึ้นน้อย อัตราเงินเฟ้อเพิ่มน้อย
ตัวอย่างวิธีคำนวณแบบง่าย
สมมติ อยากรู้ว่าราคาอาหาร เเละเสื้อผ้าในปัจจุบัน เปลี่ยนเเปลงไปมากน้อยเพียงใดจากปีที่แล้ว ให้สำรวจราคาของราคาอาหารและเสื้อผ้าทั้งสองปี รวมทั้งจำนวนรายการที่เป็นมาตรฐาน จากนั้นคำนวณตามตารางข้างล่างนี้:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่า CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หรือ Cost-Push Inflation ซึ่งทำให้ราคาสินค้าและค่าบริการที่สูงขึ้น แล้วทำให้ค่า CPI มีค่าสูงขึ้นนั่นเอง
- ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น หรือ Demand-Pull Inflation ความต้องการมาก เเต่สินค้าเเละบริการมีน้อย ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ อาจทำให้ CPI เพิ่มขึ้น
- การใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษี หรือ Fiscal Policy อาจทำให้โครงสร้างต้นทุนของธุรกิจเปลี่ยนไป เเละส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการ
การที่ตัวเลข CPI สูงขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเงินเฟ้อซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่สูงอาจนำไปสู่การลดลงของกำลังซื้อของสกุลเงิน เช่นเดียวกับความเชื่อมั่น และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง สิ่งนี้อาจทำให้ธุรกิจต่างๆ ลดการลงทุนและจ้างงาน ซึ่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย
สถิติอัตราเงินเฟ้อ

อ้างอิงจาก สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)
จากกราฟ ในต้นปี 2566 เดือนมกราคม ค่า CPI ลดลงตามลำดับเเละอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้ม ลดลง เนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับลดลง เเละในเดือนเมษายน 2566 ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เพิ่มขึ้นถึง +6.46% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม เป็นการเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลง ของราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง ตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ประกอบกับราคาสินค้า ในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสด เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นในอัตรา ที่ชะลอตัวลง
อัตราการเปลี่ยนเเปลงดัชนีราคาเดือนเมษายน 2566

ค่า CPI เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นอย่างไร
1) ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กำไรลด- เมื่อราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
- เมื่อธนาคารกลางมีการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะส่งผลให้ต้นทุนในการกู้เงินของภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรลดลง
2) ราคาหุ้นลดลง
- ในสภาวะที่ตลาดผันผวนเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนจะมีแรงจูงใจในการนำเงินมาฝากไว้กับธนาคาร และหันมาสนใจในการลงทุน ที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง
- เช่น การฝากเงินหรือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า การลง ทุนในตลาดหุ้น นักลงทุนจึงมีการขายหุ้นออกมา ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ กว่าในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดเงินเฟ้อ ทำให้ราคาหุ้นลดต่ำลงนั่นเอง
ดัชนี CPI นอกจากใช้เป็นเครื่องมือในการวัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศแล้ว ยังใช้เป็นสัญญาณการลงทุนและจัดพอร์ตของนักลงทุน ช่วยให้นักลงทุนวางแผนกลยุทธ์ และจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมและเท่าทันเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปได้ เอาชนะเหนืออัตราเงินเฟ้อได้
สามารถดูดัชนี CPI ได้จากที่ไหน?
ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง ติดตามราคา หรือ ดูตัวเลขชี้วัดวัฎจักรเศรษฐกิจได้ง่าย ๆ ผ่านโปรแกรม Aspen for browserโดยล็อกอินเข้าสู่ระบบบนหน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th เลือกเมนู Pre-Trade > Aspen

พร้อมเลือกตั้งค่า BLS Template สำหรับจับจังหวะซื้อขายที่คัดสรรมาให้กับนักลงทุน ได้ดังนี้
- เลือกเมนู View > Page Explorer
- เลือกโฟลเดอร์เป็น FX-Money-Econ > TH Econ Indicators
- กดเลือก รายชื่อตัวเลขชี้วัดที่ต้องการ เพื่อใช้วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ
นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง
- IOS รองรับ iOS 14 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Android รองรับ 7.0 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Notebook & Personal Computer Browser Support : Chrome, Firefox, Safari7+, IE11+
อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
Tips
Global
DR01
สอนลงทุน
Tips
Tools
สอนลงทุน
สอนลงทุน
Tools
Tips
Tips
สอนลงทุน